วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีไทย


เครื่องดนตรีไทย
แบ่งออกเป็น4ประเภทคือ
1.เครื่องดีด
เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในเครื่องดนตรีตระกูล พิณ มีสายสำหรับดีด มีทั้งที่ตั้งขึ้นดีดและวางราบดีด ในประเทศไทยมีหลายชนิด รูปร่างลักษณะ วิธีการดีด และชื่อเรียกต่างกันออกไป เช่น จะเข้ พิณ ๕ สาย พิณเปี๊ยะหรือพิณเพี้ยะ พิณน้ำเต้า ซึง พิณอีสาน กระจับปี่ เป็นต้น
จะเข้


จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี ๓ สาย แต่เดิมเป็นสายไหมสองสายและสายลวดหนึ่งสาย แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายเอ็นแทนสายไหม ตัวจะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน นิยมใช้ไม้ขนุน ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ข้างล่าง มีนมติดอยู่ทางด้านบนของตัวจะเข้ ๑๑ นม เนื่องจากเป็นเครื่องดีดที่มีขนาดใหญ่เวลาดีดจึงวางราบกับพื้นไม่ยกขึ้นดีดอย่างพิณชนิดอื่นๆ บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี
ตัวอย่างลักษณะการเล่นจระเข้

กระจับปี่


กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ประเภทเครื่องดีด มีหลักฐานว่าเล่นกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา กล่องเสียงทำด้วยไม้ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้า มีคันทวนค่อนข้างยาวปลายด้านบนงอนโค้ง มีสายสำหรับดีด ๔ สายทำด้วยไหม สายที่ ๑ กับสายที่ ๒ เทียบเสียงเท่ากันคู่หนึ่ง และสายที่ ๓ กับสายที่ ๔ เทียบเสียงเท่ากันอีกคู่หนึ่ง มีนมตั้งเสียงติดอยู่กับด้านหน้าของคันทวน
ตัวอย่างเสียงกระจับปี่


2.เครื่องสี

        
ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูกวัวขึงขึ้นหน้าซอ  กว้างประมาณ 13 – 14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่าง ใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 - 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย
          ซออู้มีรูปร่างคล้ายๆกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู ฮู้ ( Hu-hu ) เหตุที่เรียกว่าซออู้ก็เพราะ เรียกตามเสียงที่ได้ยินนั่นเองซอด้วงและซออู้ ได้เข้ามามีบทบาทในวงดนตรีเครื่องสายตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 นี่เอง โดยได้ดัดแปลงมาจาก วงกลองแขกเครื่องใหญ่ ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ทำลำนำประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ปละ ปี่อ้อ ต่อมาได้เอากลองแขก ปี่อ้อ อก และเอา ทับกับรำมะนา และขลุ่ยเข้ามาแทน เรียกวงดนตรีชนิดนี้ว่า วงมโหรีเครื่องสาย มีคนเล่นทั้งหมด 6 คน รวมทั้ง ฉิ่งด้วย
          ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วง

 ตัวอย่างเสียงซออู้


ซอด้วง

ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้ - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า "โขน" ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า "ทวนล่าง" - ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก - รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง - หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ ๒๕๐ เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก
ตัวอย่างเสียงซอด้วง

3. เครื่องตี
ที่ทำด้วยโลหะได้รับอิทธิพลจากมอญได้แก่ ฆ้องวงปี่พาทย์ เดิมใช้ใบเดียวต่อมา
ใช้ฆ้อง2ใบเล่นรวมกันเรียกว่า ฆ้องคู่ จนในที่สุดใช้ฆ้อง 16 ใบเรียกว่า ฆ้องวง เครื่องตีที่ทำด้วยหนังได้รับอิทธิพลจาก อินเดีย มลายู และชวา ได้แก่ กลองชาตรี กลองแขก กลองทัดกลองโทนกลองสองหน้า กลองแขกเป็นกลองคู่2ใบนิยมใช้ประสมวงประกอบจังหวะในดนตรีไทยทุกประเภทใช้มือตี ส่วน เกราะ เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยไม้เป็นของโบราณใช้ตีบอกเหตุอันตรายหรือเรียกประชุมใช้ให้จังหวะในการแสดงนาฏศิลป  กรับ ทำด้วยไม้ที่เบากว่าใช้แสดงร่วมกับการขับร้อง ระนาด ทำด้วยไม้เนื้อแข็งนิยมนำมาประสมวงปี่พาทย์
ระนาดเอก
      ระนาดเอก เป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า ผืน
ลูกระนาดนี้ทำด้วย ไม้ชิงชัน หรือไม้แก่น เช่น ไม้ไผ่บง ไม้มะหาด ไม้พะยูงก็ได้ โดยนำมาเหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำรางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายลำเรือ ให้หัวและท้ายโค้งขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า โขน ระนาดเอกในปัจจุบันมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อนำผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารองรางเป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า
ระนาดเอกใช้ในวงปี่พาทย์และวงมโหรี โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำ
ลักษณะเสียงของระนาดเอก

ฆ้องวงใหญ่


ฆ้องวงใหญ่ เป็นเครื่องตีประเภททำทำนองที่ทำด้วยโลหะ หลอมกลึงเป็นลูกๆทรงกลม มีขนาดลดหลั่นกัน 16 ลูก แขวนอยู่บนร้านฆ้อง ซึ่งทำด้วยหวายดัดโค้งเป็นวงกลม ผู้ตีนั่งอยู่ในวงฆ้อง จับไม้ตีข้างละอัน ตีเป็นทำนองเพบรรเลงผสมอยู่ในวงปี่พาทย์เครื่องห้าสมัยสุโขทัยมาจนถึงทุกวันนี้ ๑ มีหน้าที่ดำเนินทำนองหลัก เป็นหลักของวงปี่พาทย์จนถึงปัจจุบัน เดิมเรียก ฆ้องวง ต่อเมื่อเกิดฆ้องวงเล็กในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงเรียกฆ้องที่มีอยู่เดิมว่า ฆ้องวงใหญ่ เพราะมีขนาดใหญ่กว่า
ตัวอย่างเสียงฆ้องวงใหญ่  


4. เครื่องเป่า
ใบไม้เป็น เครื่องเป่าที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์  จ้องหน่อง เป็นทั้งเครื่องเป่า และ เครื่องตี รวมกันอยู่อันเดียวกันทำด้วยไม้ไผ่การเล่นจะต้องตีและเป่าพร้อมกัน แคน เป็นเครื่องเป่าที่นิยมมากในอิสาน ปี่ ที่เป็นของไทยมีปี่นอกเสียงแหลมกว่าเรียกว่าปี่ในปี่ไฉนไทยได้แบบมาจาก อินเดีย ปี่ชวาปี่มอญปี่ซอ ปี่อ้อใช้ในการบรรเลงเพลงพื้นเมืองปี่ใช้ในวงปี่พาทย์เทคนิคในการเป่า้ ได้ทนกินเวลานานโดยไม่เหนื่อยคือเวลาเป่าลมออกไปนักเป่าปี่จะใช้ช่องจมูกดูดลมเข้าไปเก็บไว้
สำรอง เสียงที่เป่าลมออกจึงไม่ขาดเพราะการหยุดหายใจเข้า ปี่ ขลุ่ย ที่ทำด้วยไม้เจาะรูกลวง ตลอดเลาขลุ่ย แล้วเจาะรูกลมบนเลาขลุ่ยอีก7รู
ขลุ่ย

ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย ทำด้วยไม้ไผ่ปล้องยาวๆ ไว้ข้อทางปลายแต่เจาะทะลุข้ออย่างไฟให้แห้งแล้วตบแต่งผิวให้ ไหม้เกรียมเป็นลวดลายสวยงาม ด้านหน้าเจาะรูกลมๆเรียงแถวกัน 7 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเสียง ขลุ่ยไม่มีลิ้นเหมือนปี่ แต่เขาใช้ไม้อุดเต็มปล้อง แล้วปาดด้านล่างให้มีช่อง ไม้อุดนี้เรียกว่า ดาก ทำด้วยไม้สักเพราะไม่มีขุยมาบังลม ด้านหลังใต้ดากลงมา เจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ปาดตอนล่างเป็นทางเฉียงไม่เจาะ ทะลุตรงเหมือนรูด้านหน้า รูที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ เรียกว่า รูปากนกแก้ว ใต้รูปากนกแก้วลงมา เจาะรูอีก 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เพราะเวลาเป่า ผู้เป่าจะใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ เหนือรูนิ้วค้ำด้าน หลัง และเหนือรูบนของรูด้านหน้าทั้งเจ็ดรู แต่อยู่ทางด้านขวา เจาะรูอีกรูหนึ่งเรียกว่า รูเยื่อ เพราะแต่ก่อนจะใช้เยื่อไม้ไผ่ปิดรูนี้ ต่อมาก็ไม่ค่อยได้ใช้ ตรงปลายเลาขลุ่ยจะเจาะรูให้ซ้ายขวา ตรงกันเพื่อร้อยเชื่อก เรียกว่า รูร้อยเชือก ดังนั้น จะสังเกตว่า ขลุ่ย 1 เลา จะมีรูทั้งสิ้น 14 รู

ปี่นอก


ปี่นอก เป็นปี่เล็กที่สุดในจำพวกปี่ที่ทำด้วยไม้จริง มีเสียงแหลมที่สุด ใช้ผสมวงในวงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา (ปี่พาทย์ชาตรี) ประกอบการ
แสดงละครโนห์ราชาตรี ใช้ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ และเครื่องใหญ่
ตัวอย่างเสียงปี่นอก 


ขอขอบคุณ

วีดีโอจาก http://www.youtube.com/

เนื้อหาจากwww.เครื่องดนตรีไทย.com/

blogนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น